หลังจากห่างหายไปนานพอสมควรในบทความนี้ทางทนายโตนและทีมงานก็ได้มีสาระความรู้ทางกฎหมายดีๆมานำเสนออีกเช่นเคยโดยในโพสต์นี้จะเป็นเรื่องของคำให้การในคดีแพ่ง

ตามนิยามในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในมาตรา1(4) คำให้การคือ กระบวนพิจารณาใดๆที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้นอกจากคำแถลงการณ์

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วคำให้การจึงย่อมไม่ใช่คำฟ้องโดยสภาพทั้งนี้คำให้การย่อมต้องมาจากฝั่งจำเลยเพราะจำเลยจะมีหน้าที่ในการแก้ฟ้องจากคำฟ้องของโจทก์เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้คดีของตนผ่านคำให้การ

ส่วนหลักการทำคำให้การนั้น

มีการวางเป็นหลักกฎหมายไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในมาตรา177ครับว่า

เมื่อได้ส่งคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลยแล้ว จำเลยจะมีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การเป็นหนังสือต่อศาลภายใน15วัน

โดยนับแต่วันที่คำฟ้องไปถึงจำเลย

ทั้งนี้

ในการทำคำให้การจำเลยต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยได้ยอมรับหรือปฎิเสธในข้ออ้างใดของโจทก์ไม่ว่าจะปฎิเสธทั้งหมดทั้งสิ้นหรือปฎิเสธในบางส่วนก็ตาม รวมทั้งต้องระบุเหตุที่ยอมรับหรือปฎิเสธคำฟ้องโจทก์ผ่านคำให้การอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม

จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การเลยก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมแล้ว ศาลจะทำการสั่งให้จำเลยฟ้องแยกเป็นอีกคดี

เหล่านี้ก็จะถือเป็นหลักในการทำคำให้การแบบคร่าวๆในคดีแพ่งครับ

#ทนายโตน

#ทนายคดีแพ่งนิติกรรมสัญญาคดีอาญา คดีปกครองและคดีอาญาทุจริตประพฤติมิชอบ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *